มาตรฐาน C3-16 น้ำมันเครื่องสูตร Low SAPS
20 ธันวาคม, 2022 โดย
แอดมิน

        เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำมันที่ผ่านมาตรฐาน C3-16 จะเป็นน้ำมันเครื่องสูตร Low SAPS นั้นจะต้องมีการควบคุมปริมาณของสารดังต่อไปนี้ Sulfur ให้ไม่เกิน 0.3% โดยน้ำหนัก, Phosphorus ให้อยู่ในช่วงระหว่าง 0.07-0.09% โดยน้ำหนัก และสุดท้าย Sulfated Ash ให้ไม่เกิน 0.8% โดยน้ำหนัก การที่ต้องควบคุมค่าของธาตุเหล่านี้เพื่อให้ดีต่อระบบบำบัดไอเสียเพราะว่าเมื่อธาตุเหล่านี้อยู่ในห้องเผาไหม้และถูกเผาไหม้รวมกับน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งก็จะมี Sulfur อยู่อีกจะกลายเป็นเขม่าและสามารถไปอุดตันที่ระบบบำบัดไอเสียเช่น Catalytic Converter, DPF และ EGR ได้ ซึ่งเป็นปัญหาจวบจนถึงปัจจุบัน ดังนั้นการจะควบคุมค่าของธาตุเหล่านี้จึงเป็นทางการแก้ขั้นพื้นฐานที่พึงกระทำ หากแต่สารเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไรกับน้ำมันเครื่องบอกเลยครับว่าธาตุเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบของสารเติมแต่ง (Additives Packages) ประสิทธิภาพสูงทั้งสิ้นดังนั้นมีหลายท่านที่สอบถามเข้าทางเพจว่า การไปลดสารเหล่านี้เพื่อให้ผ่าน C3 จะส่งผลให้ไม่สามารถให้การป้องกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่ คำตอบจริง ๆ ก็อยู่ในโพสต์ผลของ Engine Test ก่อนหน้าแล้วว่าแม้จะเป็นน้ำมันเครื่อง C3 แต่ยังให้การต้านการสึกหรอและความสะอาดของเครื่องยนต์อย่างดีเยี่ยมเหนือมาตรฐาน หากแต่วันนี้แอดมินจะมาลงลึกว่าถ้าเขาไม่ใช้ SAPS เขาจะสามารถเลือกใช้ตัวไหนได้บ้าง

        เมื่ออ่านถึงจุดนี้หลายท่านคงคิดว่าแบบนี้การลด SAPS=ลดประสิทธิภาพของตัวน้ำมัน ผมบอกเลยว่าผิดครับ ปัจจุบันนี้บริษัท Additives ชั้นนำของโลกมากมายสามารถผลิตสารเพิ่มประสิทธิภาพเหล่านี้ได้โดยไม่มีโมเลกุลของ Sulfur และ Phosphorus แล้ว เช่น Durophos, Lubrhophos และ Rhodafac series จากผู้ผลิตชื่อดังอย่าง Solvay โดย ทั้งสามตัวเป็นสารต้านการสึกหรอ (Anti-Wear) ซึ่งให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงหรือเท่ากับ ZDDP อันโด่งดังอีกทั้งยังให้ปริมาณ Phosphorus น้อยกว่าและยัง Free Sulfur ซึ่งในโมเลกุลของ ZDDP ยังมี Sulfur เป็นองค์ประกอบอีกด้วย หรือในกลุ่มต้านการสึกหรอหรือ Friction Modifier นี้ยังมี IRGALUBE FE1 จาก BASF เป็นสารต้านการสึกหรอ (Anti-Wear) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Ash Less เช่นกัน ในกลุ่มของ Dispersant agent เรายังมีสารอีกมากมายเช่น Alkylsuccinimides และ Polyethyleneamines ก็สามารถเลือกใช้โดยที่จะไม่เพิ่มปริมาณของ SAPS ในตัวน้ำมันเครื่องเช่นเดียวกัน Detergent ยังมีสารในกลุ่ม Magnesium salicylates รองรับซึ่งจะไม่มี Sulfur ในโมเลกุลเช่นกัน ดังนั้นการที่ที่น้ำมันเครื่องสูตร Low SAPS นั้นควบคุม Sulfur และ Phosphorus เพื่อให้ Sulfated Ash ไม่เกิน 0.8% โดยน้ำหนักหลักจากการเผาไหม้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าน้ำมันตัวนั้นปกป้องการสึกหรอได้น้อยลงแต่อย่างใดจึงมั่นใจในน้ำมันเครื่อง Low SAPS ของ EXOL ได้ในทุกสภาวะการใช้งานครับ หากแต่น้ำมันเครื่อง Low SAPS ไม่ใช่ทางออกของทุกสิ่งที่ควรพิจารณาคือมาตรฐาน OEM เป็นหลักเพราะบางเจ้าแม้มีระบบบำบัดไอเสียแต่ก็ยังแนะนำให้ใช้สูตร Middle to High SAPS ได้เช่น ฟอร์ด เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่ว่าทำไมน้ำมันเครื่องทุกตัวไม่ใช้ถ้ามันมีข้อดีขนาดนี้ตอบได้เลยครับเพราะ Additives เหล่านี้แพงมากครับจะใช้ในกรณีจำเป็นที่ต้องลด SAPS เท่านั้นจริงๆ

ที่มา : https://www.facebook.com/exollubthailand

เทียบสเปคกันหมัดต่อหมัด สำหรับน้ำมันเครื่องเบอร์ 5W30 ของเราทั้ง 3 ตัว⚡️
▶️ ฉลากเขียว ใช้ได้ทั้งเบนซินและดีเซลมาตรฐาน C3 เหมาะกับรถยนต์เกือบทุกรุ่นในบ้านเรามาพร้อมมาตรฐาน Mercedes-Benz MB 229.52 BMW LL-04 รถยุโรปใช้ได้เอเชียใช้ดี
▶️ ฉลากน้ำตาล ใช้ได้แค่เบนซินพกมาตรฐาน API SP ใหม่ล่าสุดของโลก รถเครื่องเทอร์โบกำลังอัดสูง ๆ แก้ไขปัญหาเรื่องการชิงจุดระเบิดได้ ที่สำคัญเอาใจสาย Honda ทุกรุ่นมาพร้อมกับมาตรฐาน Honda HTO-06 มาตรฐานสูงสุดของ Honda
▶️ ฉลากฟ้าใช้ได้ทั้งเบนซินและดีเซลโดดเด่นด้วย Approval จาก Ford เหมาะสมกับรถยนต์ Ford ทุกรุ่นในบ้านเรา

สั่งซื้อน้ำมันเครื่อง Exol

แอดมิน 20 ธันวาคม, 2022
แชร์โพสต์นี้
เก็บถาวร